เปิดวิธีเอาตัวรอด ทำอย่างไรเมื่อเกิด “ ฮีทสโตรก ”

เปิดเทคนิควิธีเอาตัวรอด ตอนหน้าร้อน ทำอย่างไรเมื่อร่างกายเจอ " ฮีทสโตรก "

 

 

         เมื่อเข้าสู่หน้าร้อน ที่อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน เช่นเดียวกับที่ทาง ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้เผยเอาไว้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดของปี กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า อุณหภูมิจะสูงถึง 43 °C ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นเช่นนี้เอง ทำให้เสี่ยงเกิด “ฮีทสโตรก” 

 

 

 

         จะพาไปทำความรู้จักกับ “ฮีทสโตรก” พร้อมวิธีเอาตัวรอดมาฝากกัน โดย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เคยอธิบายว่า “Heat Stroke มีสาเหตุการเกิดโรคออกเป็น 2 ประเภท” 

 

 

 

Classical Heat Stroke

เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไป ส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภุมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ มักเกิดในช่วงมีคลื่นความร้อนสูง (Heat Wave) และอยู่ในบ้านที่ปิดมิด ไม่มีที่ระบายอากาศ

 

 

 

Exertional Heat Stroke

เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออกมากต่อมาเหงื่อจะหยุดออก นอกจากนี้ ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หมดสติ ชัก อาจมีเลือดออกทุกทวาร

 

 

 

“สัญญาณสำคัญของภาวะฮีทสโตรก”

คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่ว ๆ ไป หากมีอาการดังกล่าว จะต้องหยุดพักทันที ถ้าหากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดด สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ โดยนำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่นละอองน้ำ ระบายความร้อน เทน้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

 

 

“5 วิธีเอาตัวรอดจากอากาศร้อนจัด”

1. ตรวจสอบอุณหภูมิ หากเกิน 34 องศาฯ ควรลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากเกิน 37 องศาฯ ควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
2. ดื่มน้ำบ่อย ๆ
3. รักษาอุณหภูมิร่างกาย เข้าที่ร่มปรับอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลง เมื่อมีอาการเพลีย กระหายน้ำ อ่อนแรง
4. เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม ระบายความร้อนได้ดี
5. สังเกตสีปัสสาวะ หากมีสีเข้ม อาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ

ทั้งนี้ ภาวะฮีทสโตรกเป็นภาวะที่เกิดจากความร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งหากอาการรุนแรง อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้น การดื่มน้ำและหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางสภาพอากาศร้อน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยหลีกเลี่ยงภาวะฮีทสโตรกได้

 

------------------------------------

 

ติดตามข่าวสารและความสนุกอื่น ๆ ได้ที่

 

TikTok : Numberonemarket

 

Youtube : Number One Market - นัมเบอร์วัน มาร์เก็ต

 

IG : numberone_market

 

 Website : www.numberonemarket.com

 

Facebook : www.facebook.com/numberonemarketbangna

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : เดลินิวส์ ออนไลน์




บริษัท นัมเบอร์วันแลนด์ จำกัด

231, 233, 235, 237, 239, 241, 243
ถนนรามคำแหง 2 แขวงดอกไม้
เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

ติดต่อเรา

  • (66) 02-740-9500
  • information@numberonegroup.com
  • เวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 8.30 – 18.00 น.
  • ติดตามเรา

  • © COPYRIGHT 2018 NUMBERRAM2. ALL RIGHTS RESERVED. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล